ข่าว AI รอบโลก – สัปดาห์ที่ 2 เดือนเมษายน 2023

อาลีบาบา เปิดตัวแชทบอท AI แข่ง ChatGPT

“อาลีบาบา กรุ๊ป โฮลดิ้ง” เปิดตัว “ถงอี้ เฉียนเหวิน” ซึ่งเป็นโมเดลภาษาที่ใช้สำหรับปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ขนาดใหญ่ที่คล้ายกับ GPT (Generative Pretrained Transformer) ที่พัฒนาโดย “โอเพนเอไอ” (OpenAI) เจ้าของ “แชทจีพีที” (ChatGPT) แชทบอทอัจฉริยะที่ได้รับความนิยมอย่างมาก

“อาลีบาบา” มีแผนจะผนวก “ถงอี้ เฉียนเหวิน” เข้ากับแอปพลิเคชันธุรกิจทั้งหมดของบริษัทในอนาคตอันใกล้ โดยเบื้องต้นจะรวมเข้ากับ “ติงทอล์ก” (DingTalk) แอปพลิเคชันข้อความในที่ทำงาน และสามารถใช้สรุปบันทึกการประชุม เขียนอีเมล และร่างข้อเสนอทางธุรกิจได้ นอกจากนี้ ยังจะผนวกกับ “ทีมอลล์ จีนี” (Tmall Genie) ระบบสั่งการด้วยเสียงของอาลีบาบา

“แดเนียล จาง” CEO ของอาลีบาบา กรุ๊ป ระบุในแถลงการณ์ว่า บริษัทอยู่ในช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนโดย AI และคลาวด์ คอมพิวติ้ง ซึ่งธุรกิจต่าง ๆ ทุกภาคส่วนก็เริ่มยอมรับการเปลี่ยนผ่านเพื่อให้เป็นผู้นำในตลาด
ขณะที่ “อาลีบาบา คลาวด์” บริษัทด้านระบบคลาวด์ในเครืออาลีบาบาวางแผนที่จะเปิดตัว “ถงอี้ เฉียนเหวิน” ให้กับลูกค้า เพื่อให้สามารถสร้างโมเดลภาษาขนาดใหญ่ที่กำหนดได้เองตามต้องการ

ปัจจุบัน ทั่วโลกกำลังสนใจ AI แบบรู้สร้าง หรือ generative AI ซึ่งเรียนรู้วิธีดำเนินการจากข้อมูลในอดีตเพื่อสร้างเนื้อหาใหม่ นับตั้งแต่เมื่อปลายปีที่แล้วหลังเปิดตัว ChatGPT แชทบอตอัจฉริยะที่พัฒนาโดย OpenAI ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากไมโครซอฟท์
บริษัทอื่น ๆ รวมถึง “กูเกิล” ของ “อัลฟาเบต” และ “ไป่ตู้” ต่างก็ส่งเสริมโมเดล AI ของตัวเอง และเปิดตัวแชทบอตอัจฉริยะที่คล้ายคลึงกัน

อ้างอิง :  https://news.trueid.net/detail/54WAenBwLLYd

AI ถูกใช้ในการแคร็กรหัสผ่าน แถมทำได้เร็วมาก ๆ ด้วย

การมาของ ChatGPT และ Bard เป็นเครื่องมือที่ทำให้เราได้รู้ว่า AI นั้นมีความสามารถมากขนาดไหน แต่ถึงอย่างนั้นทุกอย่างก็สามารถนำไปใช้ในทางที่ไม่ดีได้ AI ก็เช่นเดียวกัน

Home Security Heroes บริษัทด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้เผยแพร่ผลการศึกษาเกี่ยวกับ AI เรื่องการแคร็กรหัสผ่าน โดยการใช้เครื่องมือใหม่ที่เรียกว่า PassGAN (password generative adversarial network) ซึ่งใช้ AI เป็นตัวขับเคลื่อน

นักวิจัยได้ใช้ PassGAN ในการแคร็กรหัสผ่านกว่า 15 ล้านแบบ ผลการรันเครื่องมือดังกล่าวพบว่า รหัสผ่านทั่วไปกว่า 51% สามารถแคร็กได้ โดยใช้เวลาไม่ถึง 1 นาที, 65% ใช้เวลาแคร็กต่ำกว่า 1 ชั่วโมง, 71% ใช้เวลาน้อยกว่า 1 วัน อีก 81% ใช้เวลาน้อยกว่า 1 เดือน

จากข้อมูลในตารางจะเห็นได้ว่ารหัสผ่านที่ต่ำกว่า 6 ตัวจะสามารถแคร็กได้ในทันที แต่หากอยู่ที่ระดับ 18 ตัวอักษร และมีความพลิกแพลงมากหน่อย เช่น มีตัวเลข ตัวอักษร พิมพ์ใหญ่พิมพ์เล็ก ปนกันไป จะใช้เวลาแคร็กนานมาก เป็นต้น

อ้างอิง : https://www.beartai.com/news/itnews/1237692

‘โอเพนเอไอ’ ให้เงินสูงสุด 2 หมื่นดอลล์ คนพบจุดบกพร่อง ‘ChatGPT’

วีโอเอ รายงานว่า โอเพนเอไอ (OpenAI) เปิดตัวโครงการ “OpenAI Bug Bounty program” เมื่อวานนี้ (11 เม.ย.) พร้อมเสนอเงินรางวัลให้กับผู้ใช้งาน ที่รายงานการพบบั๊กในระบบแชทบอทปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) “แชทจีพีที” (ChatGPT) ของบริษัท โดยเงินรางวัลเริ่มต้นที่ 200 ดอลลาร์ต่อกรณี และเพิ่มเงินรางวัลตามระดับความรุนแรง

ที่ผ่านมา บริษัทเทคโนโลยีมีโครงการตรวจจับความบกพร่องของระบบโดยฝั่งผู้ใช้งาน เพื่อกระตุ้นเหล่าโปรแกรมเมอร์ และแฮกเกอร์ฝ่ายคุณธรรม ที่จะเข้าเจาะล้วงระบบเพื่อหาช่องโหว่หรือปัญหาในระบบให้รายงานปัญหาบั๊กในระบบซอฟต์แวร์ของบริษัท

ข้อมูลจากแพลตฟอร์มตามล่าบั๊ก Bugcrowd ระบุว่าโอเพนเอไอ เชิญนักวิจัยมาตรวจสอบการใช้งานบางอย่างของแชทจีพีที และกรอบการทำงานด้านการสื่อสารของระบบรวมทั้งแลกเปลี่ยนข้อมูลกับแอปพลิเคชันที่ไม่ได้พัฒนาโดยบริษัทเอง แต่โครงการดังกล่าวจะไม่นับรวมการค้นพบเนื้อหา ที่ทางโอเพนเอไอสร้างขึ้นมาเพื่อการตรวจสอบนี้

ท่าทีล่าสุดของโอเพนเอไอ มีขึ้นไม่กี่วันหลังอิตาลีแบนแชทจีพีที จากการต้องสงสัยเรื่องการละเมิดความเป็นส่วนตัวของข้อมูล ทำให้ผู้กำกับดูแลเรื่องนี้ในสหภาพยุโรป (อียู) ต้องเตรียมศึกษาแชทจีพีทีอย่างใกล้ชิดกว่าเดิม แชทจีพีที ที่พัฒนาโดยโอเพนเอไอ ซึ่งได้รับเงินทุนสนับสนุนจากไมโครซอฟท์ สร้างความฮือฮาไปทั่วโลกตั้งแต่เปิดตัวเมื่อเดือนพฤศจิกายน จากศักยภาพการตอบคำถามคล้ายมนุษย์อย่างรวดเร็ว แต่ได้สร้างความกังวลให้กับหลายคน เกี่ยวกับความไม่ถูกต้องของข้อมูลที่ได้รับกลับมาเช่นกัน

อ้างอิง : https://www.thebangkokinsight.com/news/digital-economy/technology/1081861/

ทำความรู้จัก ‘เริน เสี่ยวหรง’ ผู้ประกาศ AI รายงานข่าวได้ 24 ชั่วโมง ไม่ต้องพัก!

ช่วงกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา “เริน เสี่ยวหรง” หญิงสาวเสมือนจริง ได้แนะนำตัวเองให้โลกรู้จัก ในฐานะ “แชทบอท” ที่สามารถเรียนรู้ทักษะของ “ผู้ประกาศข่าว” หลายพันคน และสามารถพัฒนาตัวเองได้อย่างต่อเนื่อง ตามความคิดเห็นของผู้ชม

ละถ้าไม่ใช่เพราะเสียงพากย์ ที่สังเคราะห์ขึ้นไม่ตรงกัน คนที่เฝ้าดูอยู่ ก็แทบจะบอกไม่ได้เลยว่าเธอไม่ใช่คนจริงๆ ผู้ชมที่ดูเริน เสี่ยวหลง ผ่านทางแอปพลิเคชัน สามารถถามคำถามผู้ประกาศข่าวรายนี้ ในหัวข้อต่างๆ รวมถึงการศึกษา การป้องกันการแพร่ระบาด ที่อยู่อาศัย การจ้างงาน การปกป้องสิ่งแวดล้อม และอื่นๆ อีกมากมาย แต่ปัจจุบัน เธอทำได้เพียงให้คำตอบทั่วไป ด้วยการใช้ถ้อยคำ ที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนชื่นชอบ

เริน เสี่ยวหรง ไม่ได้เป็นผู้ประกาศข่าวเสมือนจริง ระบบ AI รายแรกในจีน โดยเสำนักข่าวซินหัว ของทางการจีน เคยเปิดตัวผู้สื่อข่าวเสมือนจริงรุ่นแรก ในปี 2561 เป็นเพศชาย ก่อนที่จะเปิดเวอร์ชันเพศหญิง ในอีก 1 ปีต่อมา แม้จะน่าประทับใจตั้งแต่แรกเห็น แต่ เริน เสี่ยวหรง ก็ไม่ได้ล้ำหน้าไปกว่าแชทบอท อย่าง แชทจีพีที่ (ChatGPT) ของโอเพน เอไอ ทั้งยังไม่สามารถตอบคำถาม ในแบบที่เทคโนโลยีล้ำสมัยควรจะทำได้

กระนั้นก็ตาม มีแนวโน้มว่าในอนาคต ผู้ประกาศระบบ AI แบบเดียวกันนี้ จะปรากฎตัวขึ้น ในสื่อสำนักข่าวอื่นๆ ด้วยเช่นเดียวกัน เนื่องจากสามารถออกอากาศได้ตลอด 24 ชั่วโมง อีกทั้งช่วยลดต้นทุนแรงงานด้วย

อ้างอิง : https://www.thebangkokinsight.com/news/world-news/1078440/

Microsoft เปิดตัว “Image Creator” AI สร้างภาพจากข้อความในเว็บเบราว์เซอร์ Edge

Microsoft กำลังสร้างเครื่องสร้างภาพ AI ที่ขับเคลื่อนด้วย DALL-E “พร้อมใช้งานบนเดสก์ท็อปสำหรับผู้ใช้ Edge ทั่วโลก” โดยบริษัทประกาศว่าเมื่อเดือนที่แล้วว่าได้รวมเทคโนโลยีการสร้างภาพเข้ากับ Bing chatbot ซึ่งการรวมกันครั้งนี้อาจทำให้เข้าถึงผู้ใช้งานได้เยอะขึ้น

โดยฟีเจอร์ดังกล่าวมีชื่อว่า “Image Creator” ซึ่งมันจะอยู่ในแถบด้านข้างของ Edge ที่คุณสามารถพิมพ์สิ่งที่คุณต้องการลงไป จากนั้น Bing จะสร้างรูปภาพหลายรูปที่ตรงกับข้อความที่คุณพิมพ์เข้าไปออกมาให้คุณ จากนั้นคุณสามารถดาวน์โหลดภาพที่คุณชอบและใช้งานได้ตามต้องการ

Microsoft นำเสนอฟีเจอร์ดังกล่าวโดยบอกว่ามันเป็นวิธีสร้างภาพที่ “เฉพาะเจาะจงมาก” เมื่อทำงานกับโพสต์บนโซเชียลมีเดียหรือสไลด์โชว์และเอกสาร แม้ว่าคุณจะสามารถใช้ DALL-E ของ OpenAI, ไซต์สร้างรูปภาพ Bing ของ Microsoft, โปรแกรมสร้างรูปภาพในตัวใน Bing Chat หรือหนึ่งในเครื่องมือสร้างรูปภาพอื่นๆ อีกมากมายในการสร้างภาพ แต่ว่าการวางฟีเจอร์นี้ไว้ในแถบด้านข้างของ Edge ทำให้การขอให้ AI สร้างรูปภาพให้คุณในขณะที่คุณกำลังทำอย่างอื่นบนเว็บนั้นง่ายกว่ามาก

Microsoft กำลัง “ทดลองกับขีดจำกัดตามรูปแบบการใช้งานเพื่อช่วยปรับประสบการณ์ให้เหมาะสมที่สุดสำหรับลูกค้า” ตามคำแถลงของ The Verge จาก Katy Asher ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายสื่อสาร “ทุกวันนี้ ผู้ใช้ส่วนใหญ่ยังไม่ได้ถูกจำกัดจำนวนภาพที่สามารถสร้างได้ต่อวัน”

ทางบริษัทยังเพิ่มฟีเจอร์อื่นๆ อีกมากมาย ให้กับ Edge เช่น เครื่องมือ Drop ที่ให้คุณส่งไฟล์และเนื้อหาอื่นๆ ถึงตัวคุณเอง สร้างสมุดบันทึกส่วนตัวที่ซิงค์กับอุปกรณ์ต่างๆ นอกจากนี้พวกเขายังได้เพิ่มเครื่องมือที่เรียกว่า “Browser Essentials” ซึ่งเป็นปุ่มที่คุณสามารถคลิกเพื่อให้ Edge บอกคุณว่าการทำงานที่มีประสิทธิภาพแค่ไหน

อ้างอิง : https://www.theverge.com/2023/4/6/23672862/microsoft-image-creator-edge-sidebar-dall-e-ai-generator

Microsoft กำลังนำ Copilot AI ของพวกเขาไปใช้กับแอปจดบันทึก OneNote

Copilot ใน OneNote สามารถเขียนใหม่ จัดรูปแบบ หรือสรุปบันทึกย่อที่มีอยู่ของคุณ และช่วยคุณสร้างแผนและอีกมากมาย

Microsoft กำลังวางแผนที่จะเพิ่มผู้ช่วย Microsoft 365 Copilot ใหม่ให้กับ OneNote โดยยักษ์ใหญ่ด้านซอฟต์แวร์ได้ประกาศเปิดตัว Copilot สำหรับแอปอย่าง Teams, Word, Excel และ PowerPoint เมื่อเดือนที่แล้ว และตอนนี้พร้อมสาธิตว่าการจดบันทึกจะได้ถูกพัฒนาขึ้นอย่างไรเมื่อได้ผู้ช่วยที่ขับเคลื่อนด้วย AI อย่างไร

“ในฐานะผู้ช่วยการจดบันทึกของคุณ Copilot ใช้ข้อความแจ้งของคุณเพื่อร่างแผน สร้างแนวคิด สร้างรายการ จัดระเบียบข้อมูล และอื่นๆ” Greg Mace ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ของ OneNote อธิบาย

และเช่นเดียวกับการผสานรวมของ Copilot ใน Word ผู้ช่วย AI สามารถเขียนใหม่ จัดรูปแบบ หรือสรุปข้อความที่มีอยู่ใน OneNote ตามพร้อมท์ในอินเทอร์เฟซแถบด้านข้าง คุณยังสามารถขอให้ผู้ช่วย AI สร้างแผนสำหรับกิจกรรมหรือสร้างหัวข้อและประเด็นพูดคุยสำหรับการประชุม เช่นเดียวกันกับ Copilot ใน Word คุณสามารถเน้นย่อหน้าได้ เมื่อคุณวางเมาส์เหนือส่วนของย่อหน้า ผู้ช่วย Copilot จะปรากฏขึ้นเพื่อเสนอข้อความที่เขียนใหม่โดยอัตโนมัติ

อย่างไรก็ตาม Microsoft ยังไม่ได้ประกาศว่า Copilot จะพร้อมใช้งานใน OneNote เมื่อใด ขณะนี้ลูกค้าองค์กร Microsoft 365 จำนวนน้อยกำลังทดสอบ Copilot เวอร์ชันตัวอย่างในแอป เช่น Word และ Outlook

อ้างอิง : https://www.theverge.com/2023/4/6/23672357/microsoft-onenote-copilot-ai-feature

Elon Musk มีแผนสร้าง Generative AI เป็นทางเลือกใหม่นอกเหนือจาก ChatGPT

อีลอน มัสก์ เจ้าของทวิตเตอร์ยังคงเลือกที่จะอยู่ในเกมปัญญาประดิษฐ์ โดยมีแผนการสร้างแชทบอทใหม่ เพื่อเป็นทางเลือกนอกเหนือจากการใช้งาน ChatGPT ของโอเพนเอไอ

ในช่วงไม่กี่สัปดาห์แม้ว่า อีลอน มัสก์ เจ้าของทวิตเตอร์ และเคยเป็นหนึ่งในหัวเรือสำคัญของโอเพนเอไอ ผู้พัฒนา ChatGPT ได้ออกมาสนับสนุนให้หยุดการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ชั่วคราวเป็นเวลา 6 เดือน เนื่องจากเกิดความกลัวว่าอาจสร้างปัญหาต่อมนุษยชาติในระยะยาวได้ แต่ดูเหมือนว่ามัสก์ จะเริ่มเปลี่ยนแนวคิดนี้ไปแล้ว เพราะมัสก์ตกเป็นข่าวว่ากำลังมีแผนพัฒนาโปรเจกต์ด้านปัญญาประดิษฐ์เช่นกัน

รายงานของสำนักข่าวบิสซิเนส อินไซเดอร์ เปิดเผยว่า อีลอน มัสก์ กำลังก้าวเข้าสู่โครงการพัฒนา Generative AI ที่ทวิตเตอร์ โดยได้มีการสั่งซื้อชิป GPU หลายพันจนถึงหลักหมื่นชิ้น ในรายงานฉบับเดียวกัน เปิดเผยด้วยว่า วิศวกรด้านปัญญาประดิษฐ์ที่เคยทำงานให้กับดีปมายด์ (DeepMind) หนึ่งในบริษัทลูกของอัลฟาเบท ได้เข้ามาทำงานให้กับทวิตเตอร์แล้ว เปรียบเสมือนเป็นการส่งสัญญาณว่า มัสก์ กำลังเข้าสู่เกมการแข่งขันปัญญาประดิษฐ์

การเริ่มต้นพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ของอีลอน มัสก์ ยังอยู่ในขั้นเริ่มต้นเท่านั้น เพียงแต่การทุ่มซื้อชิป GPU จำนวนมากก็สะท้อนให้เห็นว่า มัสก์ กำลังให้ความสนใจที่จะพัฒนา Generative AI จริง เพียงแต่วัตถุประสงค์และแผนการยังคงไม่ชัดเจน รวมถึงการยกระดับเพื่อเป็นผู้ท้าชิงกับ ChatGPT และ Google Bard ไปจนถึงการพัฒนาเพื่อเป็นฟีเจอร์ใหม่ให้กับทวิตเตอร์ สิ่งเหล่านี้ยังไม่แน่ชัด

อย่างไรก็ดี จากการที่มัสก์ออกมาวิจารณ์ ChatGPT ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้อาจเชื่อได้ว่าปัญญาประดิษฐ์ของมัสก์ น่าจะมีแนวทางตรงกันข้ามกับ ChatGPT แน่นอนว่าถ้าหากทวิตเตอร์ของอีลอน มัสก์ มีแนวคิดที่จะพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ขึ้นมาจริง ไม่ว่าจะเพื่อประโยชน์ด้านใดก็ตาม ก็ไม่ใช่เรื่องยากเนื่องจากทวิตเตอร์เป็นแพลตฟอร์มที่มีข้อมูลมหาศาล การฝึกฝนปัญญาประดิษฐ์จะทำได้ทันที

สิ่งที่น่าสนใจจากการทุ่มซื้อชิปเซตกราฟิกของทวิตเตอร์และอีลอน มัสก์ อยู่ตรงที่ เรื่องสถานะทางการเงินในปัจจุบันของทวิตเตอร์ซึ่งกล่าวได้ว่ายังไม่สู้ดีนัก แม้ในบทสัมภาษณ์ล่าสุดของมัสก์และสำนักข่าวบีบีซี บอกว่า สถานการณ์ของทวิตเตอร์กำลังดีขึ้นก็ตาม แต่การลงทุนในครั้งนี้อาจเป็นการบอกกลายๆ ว่า อีลอน มัสก์ ให้ความสำคัญกับโครงการด้านปัญญาประดิษฐ์อย่างจริงจัง ต่อให้บริษัทมีสถานะทางการเงินที่ไม่มั่นคงก็ตาม ความน่ากังวลจากการซื้อชิป GPU ในครั้งนี้ของอีลอน มัสก์ น่าจะมีอีกหนึ่งเรื่อง นั่นคือ ปัญหาชิปเซตกราฟิกขาดแคลนซึ่งเป็นข่าวร้ายของเกมเมอร์โดยตรง หลังจากต้องเผชิญอย่างหนักในช่วงเวลาก่อนหน้านี้จากกระแสขุดเหมืองสกุลเงินดิจิทัล จนทำให้การซื้อหาชิปกราฟิกในเวลานั้นเป็นเรื่องที่เรียกว่าแทบเป็นไปไม่ได้

อ้างอิง : https://www.thairath.co.th/news/tech/2679055

—————————————————————————————-

ทั้งหมดเป็นข่าวที่น่าสนใจใน  7 – 13 เมษายน 2566 พบกันใหม่ในสัปดาห์หน้านะคะ : )

หากมีข้อสงสัย ติชมสามารถ ติดตามและสอบถามได้ที่
 : AIไทยสามารถ โดย AI for all Thailand



เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึก