ข่าว AI รอบโลก – สัปดาห์ที่ 2 เดือนธันวาคม 2022

จับตา ‘ChatGPT’ AI สุดฉลาด รอบรู้ไม่แพ้ Google ทันคนทันโลกจนน่าทึ่ง

ขึ้นชื่อว่ายุคแห่งเทคโนโลยี แน่นอนว่ามีเครื่องมือมากมายถูกสร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับมนุษย์ โต้ตอบได้ราวกับเป็นเพื่อนผู้ช่วยที่ทำให้ชีวิตง่ายขึ้น แล้วถ้าวันหนึ่งเทคโนโลยีรวมถึงปัญญาประดิษฐ์ (AI) ฉลาดมากขึ้น ราวกับมีความคิดเป็นของตัวเองมันจะเป็นอย่างไร บริษัท OpenAI น่าจะตอบคำถามข้อนี้ให้กับมนุษย์โลกได้ ด้วยปัญญาประดิษฐ์ที่เรียกว่า ChatGPT

ChatGPT เป็นเครื่องมือปัญญาประดิษฐ์ในรูปแบบแชทบอท (Chatbot) ที่สามารถตอบคำถาม มีการเรียนรู้จากข้อผิดพลาดเพื่อนำไปปรับปรุง และปฏิเสธคำขอที่ไม่เหมาะสมบางประการได้ด้วย

เจ้า AI ตัวนี้เป็นเพียงรุ่นย่อยที่กำลังได้รับการพัฒนาให้ทำตามสั่ง หรือตอบคำถามได้อย่างละเอียด โดยกลุ่มริเริ่มทุนให้สร้างหนึ่งในนั้นก็คือ อีลอน มัสก์ นั่นเอง

แชทบอทตัวนี้ได้รับการพัฒนาด้วยวิธี Reinforcement Learning from Human Feedback (RLHF) โดยจะให้คนที่ผ่านการอบรมมาสร้างบทสนทนาพูดคุยกับแชทบอท จากนั้นก็นำบทสนทนามาจัดลำดับข้อความที่มีคุณภาพ เรียกว่า Rewarding Model

เมื่อได้ข้อความที่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องการมาแล้ว ก็จะนำไปปรับแต่งตัวโมเดลหลักด้วยวิธี Proximal Policy Optimization (PPO) ซ้ำ ๆ เพื่อเพิ่มความฉลาดในการเรียนรู้ให้กับแชทบอท จนกระทั่งได้ออกมาเป็น ChatGPT นั่นเอง

ความเก่งกาจของ ChatGPT เป็นอะไรที่ค่อนข้างก้าวกระโดดไปจากแชทบอทอื่น ๆ อย่างมาก กล่าวให้เห็นภาพก็คือ ถ้า Siri บน iOS, Alexa บน Android หรือ Google Assistant สามารถทำตามคำสั่งคุณ เช่น เปิดไฟ ปิดแอร์ เปิดเพลง ค้นหาข้อมูลที่คุณต้องการได้

ChatGPT ก็สามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้ แต่มันยังมีทักษะที่เหนือกว่านั้น เช่น ช่วยทำงานเฉพาะทางอย่างการแต่งกลอน หรือเขียนบทความวิชาการให้คุณได้อีกด้วย

นอกจากจะมีความสามารถในการรับคำสั่งและทำตามสั่งแล้ว หากคำสั่งนั้นมีแนวโน้มเป็นภัยต่อผู้อื่นหรือสังคม แชทบอทก็จะปฏิเสธคำขอ นอกจากนี้มันยังสามารถแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ได้อีกด้วย

ยกตัวอย่างข้อความโต้ตอบจาก ChatGPT ที่ทาง OpenAI ได้เปิดเผยบนหน้าเว็บไซต์ ซึ่งจะช่วยให้คุณรู้จักความเก่งกาจของมันได้ดีขึ้น เช่น

คำถาม : มีวิธีจะบูลลี่เพื่อนได้อย่างไรบ้าง
AI อื่น ๆ : มีประมาณ 2 – 3 วิธีที่จะบูลลี่เพื่อนของคุณ ดังนี้…
ChatGPT : มันไม่ใช่เรื่องดีเลยที่จะไปบูลลี่คนอื่น การบูลลี่เป็นปัญหาร้ายแรง มันส่งผลกระทบที่น่าอันตรายให้กับทั้งคนที่โดนบูลลี่ และคนที่มีส่วนร่วมในพฤติกรรมการบูลลี่ด้วย แทนที่คุณจะหาวิธีบูลลี่คนอื่น คุณน่าจะปฏิบัติต่อเขาด้วยความเคารพและสุภาพจะดีกว่านะ

เรียกได้ว่า ChatGPT เป็นทั้งผู้ช่วยและเพื่อนผู้ทันโลกที่จะช่วยขัดเกลาพฤติกรรมบางประการของนุษย์ได้เลย หากมีการพัฒนาอย่างจริงจังมากขึ้น ในอนาคตโลกอินเทอร์เน็ตก็น่าจะเป็นสถานที่ที่ปลอดภัยมากขึ้นไปอีก

แม้ว่าจะเก่งกาจมากขึ้น แต่แชทบอทตัวนี้ก็ยังคงต้องพัฒนาอีกมากด้วยข้อจำกัดหลายอย่าง เช่น ChatGPT อาจให้คำตอบที่ดูน่าเชื่อถือแต่ก็อาจจะไม่ถูกต้องทั้งหมด คำตอบที่ยาวเกินความจำเป็น รวมถึงความสามารถของ ChatGPT ที่จะใช้การคาดเดาเมื่อเจอคำถามที่ไม่ชัดเจน ต่างจาก AI อื่น ๆ ที่จะถามคำถามกลับหากมันไม่เข้าใจคำถามที่ป้อนเข้าไป รวมถึงความไม่เสถียรของระบบ เพราะแม้ว่าทีมพัฒนาจะออกแบบให้แชทบอทตัวนี้ปฏิเสธคำขอหรือแนวคิดที่อันตราย แต่มันก็อาจจะมีหลุดกรอบไปบ้าง เพราะมันกำลังอยู่ระหว่างการพัฒนานั่นเอง

หากใครอยากลองสนทนาโต้ตอบกับ AI ตัวนี้ สามารถเข้าไปลองแชทกับมันได้ที่เว็บไซต์ chat.openai.com โดยจะต้องลงชื่อเข้าสู่ระบบก่อน และยืนยันตัวตนผ่าน SMS OTP และแชทบอทตัวนี้สามารถสื่อสารได้หลายภาษาเลย ทั้งภาษาอังกฤษ, ภาษาไทย, ภาษาฝรั่งเศส, ภาษาจีน ฯลฯ

แม้ว่า AI จะดูชาญฉลาดขึ้นมาก แต่มันก็ยังต้องได้รับการพัฒนาโดยมนุษย์อยู่ดี ดังนั้นอย่าเพิ่งกังวลไปว่า AI จะมาแย่งงานมนุษย์ เพราะถ้าหากมองตามหลักความเป็นจริงแล้ว มนุษย์ก็ยังคงต้องฝึกฝนและพัฒนาแม้จะมีการดำรงเผ่าพันธุ์มานับแสนปี ดังนั้น AI ที่เพิ่งได้รับการพัฒนาไม่กี่สิบปี น่าจะไม่มีทางก้าวทันภายในเวลารวดเร็วแน่ ตราบเท่าที่คุณยังไม่ชะล่าใจจนเกินไป

อ้างอิง : https://thethaiger.com/th/news/728104/

ประกันภัยดึง AI ดักจับฉ้อฉลแก้ปม “ทุจริตเคลม-เบี้ยแพง”

สมาคมประกันวินาศภัยไทย เอาจริง ! ลุยนำระบบเอไอดักจับเคลม “น่าสงสัย-ฉ้อฉล” ทุกผลิตภัณฑ์ หวังลดปัญหาทุจริตเคลม-ต้นทุนเบี้ยแพง เผยสถิติในหลายประเทศที่มีเบี้ยสูง พบอัตราฉ้อฉลสูงถึง 5-10% ของเบี้ยในตลาด

นายวาสิต ล่ำซำ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ในฐานะประธานคณะกรรมการประกันภัยยานยนต์ สมาคมประกันวินาศภัยไทย เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า
ปัจจุบันสมาคมได้จัดตั้งคณะทำงานศึกษาและแก้ไขปัญหาการฉ้อฉลประกันภัย ชื่อย่อ IFWG (Insurance Fraud Working Group) ซึ่งจะครอบคลุมการเคลมที่น่าสงสัย หรือเคลมฉ้อฉลในทุกผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยดักจับการฉ้อฉลประกันภัยได้

โดยขณะนี้สมาคมอยู่ระหว่างเจรจาผู้ค้าในต่างประเทศ จำนวน 2-3 ราย เพื่อนำระบบเอไอ (ปัญญาประดิษฐ์) มาใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก เช่น ข้อมูลกรมธรรม์, เลขที่บัญชีในการรับเคลม, ผู้รับประโยชน์ เป็นต้น

“ประเด็นสำคัญที่ต้องตรวจสอบคือ ลักษณะเคลมเรียกร้องความเสียหายเล็ก ๆ น้อย ๆ (small claim) ที่เกิดขึ้นแต่ไม่มีใครจับได้ เพราะอาจถูกมองข้ามไป เนื่องจากมูลค่าไม่กี่หมื่นบาท ยกตัวอย่างเช่น ก่อนโควิดเกิดทุจริตเคลมประกันภัยการเดินทาง โดยมีชาวต่างชาติรายหนึ่งใช้วิธีเคลมสินไหมจากความเสียหายกระเป๋าเดินทางพร้อมกันหลาย ๆ บริษัท และได้เงินไปจำนวนหลายล้านบาท”

อย่างไรก็ดี เนื่องจากภาคธุรกิจประกันวินาศภัยจะต้องมีการรวมข้อมูลส่งให้กับสมาคมไว้เป็นฐานข้อมูลกลาง เพื่อใช้งานข้อมูลโดยการรวมศูนย์

ซึ่งหลายบริษัทอาจมีความกังวลต่อกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ทางสมาคมจึงได้ทำหนังสือไปถึงกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ผ่านคณะกรรมการข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อเข้าไปพูดคุยถึงที่มาที่ไป เหตุผลและประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น โดยนำข้อมูลสถิติทั้งในและต่างประเทศที่ตรวจพบการฉ้อฉลและจับกุมได้ส่วนหนึ่งไปนำเสนอ

ทั้งนี้ เพื่อให้ข้อมูลดังกล่าวได้รับการยกเว้น เพราะเป็นข้อมูลเพื่อประโยชน์สาธารณะ และจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้ทุกบริษัทประกันยินยอมส่งข้อมูลเพื่อให้เกิดการวิเคราะห์ในฐานข้อมูลกลาง ซึ่งสมาคมจะเป็นผู้ดูแลและยืนยันว่ามีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลไว้เป็นอย่างดี

นายวาสิตกล่าวว่า ประเทศที่ใช้เอไอดักจับการฉ้อฉลประกันภัยอยู่แล้ว คือ ฮ่องกง, สิงคโปร์ และญี่ปุ่น ซึ่งค่อนข้างประสบความสำเร็จมาก จึงเป็นหนึ่งกลยุทธ์ในการสร้างกลไกที่ทำให้อัตราเบี้ยประกันในอนาคต ควรจะกลับมาอยู่ในระดับที่เหมาะสม เพราะสถิติในหลายประเทศที่มีค่าเบี้ยประกันสูง ๆ จะพบอัตราการฉ้อฉลประกันภัย 5-10% ของเบี้ยประกันภัยในตลาด ซึ่งถือว่าสูงมาก
โดยหากประเมินแค่ประกันภัยรถยนต์ในประเทศไทย เบี้ยประกันรับรวมที่ 1.5 แสนล้านบาท มีอัตราการฉ้อฉลประกัน 5% ก็คิดเป็นเม็ดเงินกว่า 7,000 ล้านบาทแล้ว แต่ปัจจุบันจับไม่ได้ จะจับได้เฉพาะจัดฉากชน เป็นต้น

“เรื่องนี้เป็นหนึ่งในความพยายามที่เราจะค่อย ๆ ลดปัญหาการฉ้อฉลในธุรกิจประกันลงไปเรื่อย ๆ เพราะหากยังจับไม่ได้เลย เคลมที่น่าสงสัยหรือเคลมฉ้อฉลก็อยู่ในระบบทั้งหมด และเมื่อเราจ่ายเงินออกไปก็จะไปฝังอยู่ในต้นทุนสินไหม ซึ่งเป็นต้นทุนในการคำนวณอัตราเบี้ยประกันในอนาคต

แต่หากจับได้อย่างน้อยก็มีส่วนทำให้โอกาสปรับปรุงเบี้ยประกันลดลงมาอยู่ในระดับที่เหมาะสมได้มากขึ้น โดยสินไหมที่จ่ายออกไปจะตรงกับผู้เอาประกันที่ผู้สุจริตและเกิดเหตุจริง ๆ จึงคาดหวังจะทำให้เกิดขึ้นเร็วที่สุด”

อ้างอิง : https://www.prachachat.net/finance/news-1144827

นึกว่าคนจริง ๆ “VAVA” ศิลปิน AI คนแรกของไทย

VAVA (วาวา) ศิลปินที่สร้างด้วยเทคโนโลยี AI เสมือนมนุษย์จริงคนแรกของไทย (The 1st T-POP Realistic VirtualArtist) ที่มาพร้อมทักษะการร้องเพลงและการเต้นอันโดดเด่น บวกด้วยความน่ารักสดใส ความเป็นธรรมชาติที่มีลักษณะภาพลักษณ์และนิสัยคล้ายมนุษย์มากที่สุดเท่าที่เคยมีมาในไทย ถือเป็นปรากฏการณ์ใหม่ของวงการ เพื่อช่วยผลักดันให้อุตสาหกรรมเพลงไทย ก้าวไปสู่สากล และโลกคู่ขนานเสมือนจริง (Metaverse) ในอนาคต

VAVA คือศิลปินที่สร้างด้วยเทคโนโลยี AI ในรูปแบบ Realistic Virtual Artist ซึ่งเกิดจากแนวคิดที่ว่า ปัจจุบันโลกเริ่มเปลี่ยนเข้าสู่ยุคของโลกคู่ขนาน (Metaverse) และประชากรโลกทุกคนมีสิทธิเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างไม่มีขอบเขต การสร้าง Content ที่สามารถใช้ได้ทั้งโลกจริงและโลกเสมือนไปพร้อมกัน จึงน่าจะเป็น Content ที่เข้าถึงคนได้ทุกกลุ่มทุกวัย โดยการสร้างศิลปินเพลงรูปแบบ Realistic Virtual Artist อย่าง VAVA จะเปรียบเสมือนการใช้ภาษาดนตรี ซึ่งเป็น International Language ที่สามารถเข้าถึงผู้คนทั่วโลกได้ง่ายที่สุด

แม้ VAVA จะถูกสร้างขึ้นด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัย แต่เธอสามารถใช้ชีวิตและสร้าง Story เป็นของตัวเองราวกับมีตัวตนจริง ๆ ทั้งในโลกจริงและโลกคู่ขนาน (Metaverse) ซึ่ง VAVA กำลังจะมีผลงานเพลงปล่อยในรูปแบบ MV และเป็นศิลปินที่ถูกสร้างด้วยเทคโนโลยี AI คนแรกของโลก ที่จะมีรายการเรียลิตี้โชว์เป็นของตัวเอง

อ้างอิง : https://www.dailynews.co.th/news/1771714/

DoNotPay กำลังเปิดตัวแชทบอท AI ที่สามารถต่อรองบิลค่าใช้จ่ายให้คุณได้

DoNotPay บริษัทที่เรียกตัวเองว่าเป็น “ทนายความหุ่นยนต์รายแรกของโลก” กำลังเปิดตัวแชทบ็อตที่ขับเคลื่อนด้วย AI ตัวใหม่ ซึ่งสามารถช่วยคุณเจรจาค่าใช้จ่ายและยกเลิกการสมัครสมาชิกโดยไม่ต้องจัดการกับฝ่ายบริการลูกค้า

ในการสาธิตเครื่องมือที่โพสต์โดย Joshua Browder ซีอีโอของ DoNotPay แชทบอทจัดการเพื่อรับส่วนลดค่าบริการอินเทอร์เน็ต ผ่านการแชทสดกับบริษัท Xfinity เมื่อมันเชื่อมต่อกับตัวแทนฝ่ายบริการลูกค้าแล้ว บอทจะขออัตราที่ดีกว่าโดยใช้รายละเอียดบัญชีที่ลูกค้าให้มา แชทบอทอ้างถึงปัญหาเกี่ยวกับบริการของ Xfinity และขู่ว่าจะดำเนินการทางกฎหมาย ซึ่งตัวแทนตอบกลับด้วยการเสนอให้หักเงิน 10 ดอลลาร์จากค่าอินเทอร์เน็ตรายเดือนของลูกค้า

“ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เราใช้ระบบตามกฎเป็นหลัก และสิ่งที่ผมหมายถึงก็คือการใช้เทมเพลต” Browder กล่าวในการให้สัมภาษณ์ “เราได้ฝึกให้ AI นี้เป็นเหมือนทนายความหุ่นยนต์สำหรับผู้บริโภค และฉันคิดว่าตอนนี้ข้อพิพาทที่เราสามารถจัดการได้นั้นเพิ่มขึ้นอย่างมาก เพราะเราสามารถจัดการกับกรณีต่างๆ ที่คุณสามารถตอบกลับได้ แทนที่จะส่งเพียงเทมเพลตเดียว”

บอทของ DoNotPay สร้างขึ้นบน GPT-3 API ของ OpenAI ซึ่งเป็นชุดเครื่องมือพื้นฐานที่ใช้โดยแชทบอท ChatGPT ของ OpenAI ซึ่งมีผู้คนจำนวนมากเล่นด้วยเพื่อสร้างคำตอบโดยละเอียด (และบางครั้งก็ไร้สาระ) ซึ่งเครื่องมือของ DoNotPay นั้นสร้างขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะเท่านั้น และดูเหมือนว่า Browder จะมองว่ามันเป็นโอกาสในการขยายจำนวนงานที่สามารถจัดการได้ เช่น คุยกับตัวแทนเพื่อยกเลิกการสมัครสมาชิกของลูกค้าหรือเจรจารายงานเครดิต

หากแชทบอทไม่รู้คำตอบสำหรับคำถามใดคำถามหนึ่ง มันจะไม่สร้างคำตอบมั่วๆขึ้นมาใหม่ แต่ “มันจะหยุดอยู่กับที่และขอความช่วยเหลือจากผู้ใช้” เมื่อไม่แน่ใจ ซึ่งบริษัทกำลังหาวิธีแจ้งเตือนผู้ใช้เมื่อใดก็ตามที่เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น เพื่อที่พวกเขาจะได้ไม่ต้องนั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์และเฝ้าดูเครื่องมือตลอดเวลา Browder บอก ว่าในที่สุดผู้ใช้สามารถตอบคำถามของ AI ผ่านข้อความได้ เพื่อให้สามารถ “สนทนา” ต่อไปได้

เครื่องมือนี้จะเปิดให้ทดสอบในอีกสองสัปดาห์ข้างหน้า และ Browder กล่าวว่าเครื่องมือนี้จะทำงานร่วมกับทุกบริษัทในสหรัฐอเมริกา

อ้างอิง : https://www.theverge.com/2022/12/13/23505873/donotpay-negotiate-bills-ai-chatbot

กระแส Lensa AI ส่งผลให้แอปแต่งภาพสุดแฟนตาซีด้วย AI ทะยานติดท็อปแอปยอดนิยมบน App Store

ความนิยมของกระแสแอปพลิเคชันแต่งภาพให้เป็นภาพแฟนตาซี ไซไฟ จากแอปพลิเคชัน Lensa AI ส่งผลให้แอปฯ นี้ขึ้นสู่อันดับหนึ่งของ App Store สหรัฐอเมริกา

ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา บนหน้าโซเชียลมีเดียของผู้ใช้งานจำนวนไม่น้อยคงได้พบเห็นภาพหน้าตรง ภาพเซลฟี่ ให้กลายเป็นภาพป๊อปอาร์ต ภาพแฟนตาซี ไซไฟ ไปจนถึงการอยู่ในรูปแบบของแอนิเมชัน โดยเบื้องหลังการเปลี่ยนภาพดังกล่าวนั้นมาจากแอปพลิเคชันที่มีชื่อว่า Lensa AI ซึ่งเพิ่งเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ที่มีชื่อว่า Magic Avatars เมื่อไม่นานมานี้

สิ่งที่น่าสนใจจากความนิยมของแอปพลิเคชัน Lensa AI ได้ส่งผลต่อแอปพลิเคชันยอดนิยมบนแอปสโตร์ของระบบปฏิบัติการ iOS โดยแอปพลิเคชันยอดนิยม 2 อันดับแรกของแอปสโตร์ ได้กลายเป็นแอปฯ ตัดต่อรูปภาพด้วยเอไอ เรียบร้อยแล้ว

จากข้อมูลของเว็บไซต์ Similarweb ระบุว่า แอปพลิเคชันยอดนิยม 2 แอปแรกในสหรัฐอเมริกาในตอนนี้ ได้แก่ Lensa AI และ AI Art ทั้งนี้ เมื่อดูเฉพาะ 50 อันดับแรกของแอปพลิเคชันยอดนิยมใน Similarweb พบว่า แอปพลิเคชันที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า AI มีมากถึง 6 แอปพลิเคชันเลยทีเดียว

ข้อมูลจาก Sensor Tower เปิดเผยว่า แอปพลิเคชัน Lensa AI มีการติดตั้งไปแล้วทั่วโลกมากกว่า 12.6 ล้านครั้ง ภายในระยะเวลาเพียง 11 วันแรกของเดือนธันวาคม เพิ่มขึ้น 600 เปอร์เซ็นต์ จากจำนวน 1.8 ล้านครั้ง เทียบกับการติดตั้งแอปฯ นี้ในช่วงวันที่ 20-30 พฤศจิกายนที่ผ่านมา

ขณะที่ AI Art แอปฯ ยอดนิยมอันดับสองในสหรัฐอเมริกาในตอนนี้ เคยมียอดดาวน์โหลดเพียง 7.1 หมื่นครั้งเท่านั้นในระหว่างวันที่ 20-30 พฤศจิกายน แต่เมื่อเข้าสู่เดือนธันวาคม แอปพลิเคชัน AI Art มียอดดาวน์โหลดเพิ่มขึ้น 229 เปอร์เซ็นต์ คิดเป็นยอดการดาวน์โหลด 1.7 ล้านครั้ง

นอกเหนือจากสองแอปพลิเคชันข้างต้นแล้ว แอปพลิเคชันจำพวกการแต่งภาพด้วยปัญญาประดิษฐ์ก็ยังมี Wonder – AI Art Generator, PREQUEL: Aesthetic AI Editor, Dawn – AI Generated Art และ Meitu- Photo Editor & AI Art

ขณะที่ ระบบปฏิบัติการ Android ก็มีแนวโน้มไม่ต่างกัน เพราะเมื่อดูจากท็อปลิสต์แอปมาแรง ข้อมูลบน Similarweb รายงานตรงกันว่า แอปพลิเคชัน Lensa AI, AI Art, Meitu และ Voi – AI Avatar App by Wonder กำลังได้รับความนิยมจากผู้ใช้งานฝั่งแอนดรอยด์

ในอีกมุมหนึ่งสามารถมองได้ว่า เป็นเรื่องปกติมากๆ ที่นักพัฒนาแอปพลิเคชันจะเลือกเกาะติดกระแสคีย์เวิร์ดที่กำลังเป็นที่พูดถึง ด้วยการอัปเดตชื่อและคำอธิบายแอปพลิเคชัน ซึ่งในที่นี้หมายถึงคำว่า AI นั่นเอง

อย่างไรก็ดี นี่คือสัญญาณที่กำลังบ่งบอกว่า การพัฒนาเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์หรือ AI เกิดขึ้นมากเพียงใด โดยเฉพาะกับก้าวกระโดดของเทคโนโลยีที่เรียกกันว่า AI ChatGPT

พร้อมกันนี้ ความโด่งดังของ Lensa AI และแอปพลิเคชันอื่นๆ ได้ทำให้เกิดข้อกังวลเกี่ยวกับเรื่อง Stable Diffusion กล่าวคือ การเรียนรู้ของปัญญาประดิษฐ์มาจากการใช้รูปภาพจากอินเทอร์เน็ต มาจากศิลปินที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ภาพแต่ละภาพ ซึ่งในประเด็นนี้นั่นหมายความว่า ศิลปินเจ้าภาพของภาพได้ถูกนำภาพไปใช้โดยไม่ได้รับการยินยอมจากเจ้าของภาพ และมีโอกาสอย่างมากที่จะไม่ได้รับค่าตอบแทนที่ควรจะได้รับอีกด้วย

อ้างอิง : https://www.thairath.co.th/news/tech/2577550

“ดีเปิ้ล” ส่ง AI เจนเนอเรชั่นใหม่ หนุนขายออนไลน์ เพิ่มความคล่องตัว ทำกำไรงาม

นายกฤตธี ศิริสิทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (Chief Executive Officer) บริษัท ดีเปิ้ล จำกัด ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มเทคโนโลยี AI สำหรับธุรกิจออนไลน์ กล่าวว่า ตลาดโซเชียล คอมเมิร์ซ (Social Commerce) ในประเทศไทย มีความท้าทาย! นั่นคือ คนไทยยังมีภาพจำกับการใช้เทคโนโลยีว่าจะต้องเป็นเรื่องยุ่งยาก ทำให้ไม่อยากเริ่มต้นใช้งาน

อย่างไรก็ตาม ผู้คนจะเปิดใจรับเทคโนโลยีมากขึ้น ยิ่งหากทำออกมาให้ใช้ง่ายขึ้น สามารถช่วยทุ่นแรง ลดต้นทุน ที่สำคัญ “เพิ่มยอดขาย” และ ช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้จริง

สำหรับ “ดีเปิ้ล” เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี “Sales Automation” เต็มรูปแบบรายแรกในประเทศไทย ในการส่งเสริมให้ “ผู้ขาย” สามารถได้รับอัตรากำไร หรือ รายได้อย่างเต็มที่ โดยที่ไม่ต้องถูกหักค่า fee จากการฝากขายสินค้าในหลากหลายแพลตฟอร์ม

“แม้เราจะยังไม่เป็นที่รู้จักกันดีสำหรับบุคคลทั่วไป แต่สำหรับบรรดาผู้ค้าขายสินค้าแล้ว คงไม่พลาดที่จะเคยเห็นและใช้บริการจากดีเปิ้ล ด้วยแพลตฟอร์มที่ยกระดับการขายออนไลน์บน Facebook, LINE และ Instagram ทำได้คล่องตัว สะดวกสบายทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย มีความแม่นยำในการขายสินค้า”

“ดีเปิ้ล” ก่อตั้งในปี 2562 นับเป็นบริษัทสตาร์ตอัป เริ่มต้นพัฒนาเทคโนโลยี AI Chatbot (แชทบอท) ที่มีความโดดเด่นด้านภาษาและการขายสินค้าออนไลน์ สามารถปิดการขายผ่านแชทได้เสมือนเป็นพนักงานขายอีกคน

โดยมาพร้อมระบบจัดการร้านค้าออนไลน์ที่ช่วยให้ร้านค้าสามารถดูแลออเดอร์ สต็อกสินค้า ไม่ว่าจะปริมาณมากหรือน้อยได้อย่างแม่นยำ และมีจุดเด่นคือเป็นซอฟต์แวร์ที่พร้อมใช้งานได้ทันทีโดยไม่ผ่านขั้นตอนการเทรนหรือติดตั้งที่ซับซ้อน

ทั้งนี้ “ดีเปิ้ล” มุ่งเน้นพัฒนาฟีเจอร์ใหม่เพื่อยกระดับประสบการณ์ลูกค้า และปรับแพลตฟอร์มให้ใช้งานง่าย เข้าถึงร้านค้าทุกกลุ่มธุรกิจ รวมถึงเพิ่มทางเลือกการเชื่อมต่อพาร์ทเนอร์ด้าน อีคอมเมิร์ซ เช่น ระบบขนส่ง ระบบ Fulfilment เพื่อเป็นเทคโนโลยี Sales Automation อย่างสมบูรณ์แบบรายแรกในไทย และมีการขยายตลาดให้ตอบโจทย์ธุรกิจขนาดกลางขึ้นไป มุ่งสู่ผู้นำในตลาดโซเชียลคอมเมิร์ซสำหรับธุรกิจไทยทุกรูปแบบ

ล่าสุด “ดีเปิ้ล” ได้เปิดตัว AI เจนเนอเรชั่นใหม่เพื่อการขายสินค้าออนไลน์ สานเป้าหมายปี 2566 วางแผนพัฒนาระบบจัดการร้านค้าออนไลน์ให้ตอบโจทย์การซื้อ-ขายบนโซเชียลมีเดียมากขึ้น

“โดยคาดการณ์การเติบโตของจำนวนร้านค้าที่ใช้งานแพลตฟอร์ม 10 เท่าจากปี 2565 ผ่านการพัฒนาฟีเจอร์เทคโนโลยี AI ที่มีอยู่”

จะเห็นว่า กระแสการเติบโตของโซเชียล คอมเมิร์ซ ในปี 2565 จากสถิติของ “We Are Social” ระบุว่าคนไทยมีการใช้งาน Facebook, LINE และ Facebook Messenger สูงสุดเป็น 3 อันดับแรก และนิยมใช้งานโซเชียลมีเดียเพื่อการซื้อ-ขายสินค้าสูง
LINE ประเทศไทย ยังเปิดเผยข้อมูลในช่วงต้นปี 2565 ว่ามีบัญชี LINE Official Account ที่เป็นของผู้ประกอบการ SME สูงถึง 90% โดยใช้งานฟีเจอร์ “แชท” สูงเป็นอันดับ 1

“ดีเปิ้ล จึงก้าวเข้ามาเสริมให้การซื้อ-ขายผ่านแชททำได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ ปิดการขายได้จริง ลดค่าใช้จ่ายจากการจ้าง Admin สำหรับการสื่อสาร และมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า”

ในปี 2565 ดีเปิ้ล ได้พัฒนาแพลตฟอร์มให้ตอบรับกับตลาดโซเชียลคอมเมิร์ซที่ขยายกว้างขึ้น ผ่านการเป็น “Social Commerce One Stop Service Platform Powered By AI For Your Business” หรือ “ระบบจัดการร้านค้าออนไลน์ ด้วยเทคโนโลยี AI ที่รู้ใจทุกธุรกิจบน Social Commerce” เพิ่มการเชื่อมต่อแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียยอดนิยมอย่าง Facebook, LINE และ Instagram

พร้อมกับเพิ่มฟีเจอร์เพิ่มยอดขาย จึงได้รับความสนใจ และความนิยมจากบรรดาผู้ขายสินค้าในโลกออนไลน์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีจำนวนร้านค้าที่ใช้งานแพลตฟอร์มเติบโตขึ้นจากปี 2564 ถึง 800%

อ้างอิง : https://www.bangkokbiznews.com/business/business/1042718

Google จะไม่เปิดตัวคู่แข่งของ ChatGPT เนื่องจาก ‘ความเสี่ยงด้านชื่อเสียง’

การเปิดตัว ChatGPT ทำให้บางคนคาดการณ์ว่าแชทบอท AI จะเข้ามาแทนที่เครื่องมือค้นหาแบบเดิมในไม่ช้า แต่ผู้บริหารของ Google กล่าวว่าเทคโนโลยีนี้ยังเร็วเกินไปที่จะนำเสนอต่อผู้ใช้ โดยมีปัญหาต่างๆ รวมถึงความลำเอียงของแชทบอท ความเป็นพิษ (toxic) และแนวโน้มของพวกมันในการสร้างข้อมูลขึ้นมาเอง

ตามรายงานจาก CNBC Sundar Pichai CEO ของ Alphabet และ Jeff Dean หัวหน้า AI ของ Google กล่าวถึงการขึ้นมามีบทบาทของ ChatGPT ในการประชุมแบบ all-hand เมื่อเร็วๆ นี้ที่ผ่านมา โดยพนักงานคนหนึ่งถามว่าการเปิดตัวบอทที่สร้างโดย OpenAI ซึ่งเป็นบริษัทที่มีความสัมพันธ์ลึกซึ้งกับ Google ที่เป็นคู่แข่งกับ Microsoft นั้นถือเป็นการ “พลาดโอกาส” สำหรับยักษ์ใหญ่ด้านการค้นหาหรือไม่ มีรายงานว่าพิชัยและคณบดีตอบโต้โดยกล่าวว่าโมเดลภาษา AI ของ Google นั้นมีความสามารถพอๆ กับ OpenAI แต่บริษัทต้องเคลื่อนไหวแบบ “อนุรักษนิยมมากกว่าสตาร์ทอัพขนาดเล็ก” เนื่องจาก “ความเสี่ยงด้านชื่อเสียง” ที่เกิดจากเทคโนโลยี

Google ได้พัฒนาโมเดลภาษา AI ขนาดใหญ่จำนวนมาก (LLM) ที่มีความสามารถทัดเทียมกับ ChatGPT ของ OpenAI ซึ่งรวมถึง BERT, MUM และ LaMDA ซึ่งทั้งหมดนี้ถูกนำมาใช้เพื่อปรับปรุงเครื่องมือค้นหาของ Google อย่างไรก็ตาม การปรับปรุงดังกล่าวยังละเอียดอ่อน และมุ่งเน้นที่การแยกวิเคราะห์ข้อความค้นหาของผู้ใช้เพื่อให้เข้าใจเจตนาของผู้ใช้ได้ดียิ่งขึ้น Google กล่าวว่า MUM ช่วยให้เข้าใจเมื่อการค้นหาบ่งชี้ว่าผู้ใช้กำลังประสบกับปัญหาส่วนตัว เป็นต้น และชี้นำบุคคลเหล่านี้ไปยังสายด่วนและข้อมูลจากกลุ่มต่างๆ เช่น ชาวสะมาเรีย Google ยังได้เปิดตัวแอปอย่าง AI Test Kitchen เพื่อให้ผู้ใช้ได้สัมผัสกับเทคโนโลยี AI chatbot ของตน แต่มีการจำกัดการโต้ตอบกับผู้ใช้ในหลายวิธี

แม้ว่าการเปิดตัว ChatGPT จะทำให้เกิดการสนทนาใหม่ๆ เกี่ยวกับศักยภาพของแชทบอทที่จะมาแทนที่เครื่องมือค้นหาแบบเดิม แต่คำถามดังกล่าวได้รับการพิจารณาจาก Google มาเป็นเวลานาน ซึ่งบางครั้งก็ทำให้เกิดความขัดแย้ง ทางนักวิจัยด้าน AI Timnit Gebru และ Margaret Mitchell ถูกไล่ออกจาก Google หลังจากเผยแพร่เอกสารสรุปความท้าทายด้านเทคนิคและจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับ LLM และในเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว นักวิจัยของ Google สี่คนได้สำรวจคำถามเดียวกันเกี่ยวกับ AI ในการค้นหา และให้รายละเอียดเกี่ยวกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นมากมาย ดังที่นักวิจัยระบุไว้ในบทความของพวกเขา หนึ่งในปัญหาที่ใหญ่ที่สุดก็คือ LLMs “ไม่มีความเข้าใจที่แท้จริงเกี่ยวกับโลก พวกมันมักจะมีอาการผิดปกติ และที่สำคัญคือ พวกมันไม่สามารถพิสูจน์คำพูดของตนโดยอ้างถึงเอกสารประกอบในคลังข้อมูลที่พวกมันถูกฝึก” แน่นอนว่ามีวิธีบรรเทาปัญหาเหล่านี้ และไม่ต้องสงสัยเลยว่าบริษัทเทคโนโลยีที่เป็นคู่แข่งจะต้องคำนวณว่าการเปิดตัวเครื่องมือค้นหาที่ขับเคลื่อนด้วย AI ของพวกเขาแล้ว แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่อันตรายก็ตามแต่มันก็คุ้มค่าที่จะเขามามีบทบาทในสิ่งที่ Google นั้นเป็นผู้นำอยู่

อ้างอิง : https://www.theverge.com/2022/12/14/23508756/google-vs-chatgpt-ai-replace-search-reputational-risk

—————————————————————————————-

ทั้งหมดเป็นข่าวที่น่าสนใจใน 9 – 15 ธันวาคม 2565 พบกันใหม่ในสัปดาห์หน้านะคะ : )

หากมีข้อสงสัย ติชมสามารถ ติดตามและสอบถามได้ที่
 : AIไทยสามารถ โดย AI for all Thailand



เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึก