ข่าว AI รอบโลก – สัปดาห์ที่ 3 เดือน กันยายน 2023

NASA กางแผนใช้เทคโนโลยี AI และ Machine learning ตามล่าหา UFO

NASA เผยว่าจะเริ่มใช้ AI และการรายงานจากพลเมือง เพื่อศึกษา UFO โดยมีเป้าหมายเพื่อทำความเข้าใจปรากฏการณ์นี้ให้ดียิ่งขึ้น

รายงานล่าสุดที่จัดทำโดย NASA พบว่าเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ Machine learning (ML) เป็น “เครื่องมือสำคัญ” ในการระบุเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ยาก รวมไปถึง UAP (UFO) นอกจากนี้รายงานดังกล่าวถึงแผนการที่จะให้สาธารณชนเข้ามามีส่วนร่วมในการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ UAP ผ่านเทคโนโลยีดังกล่าวอีกด้วย

ทั้งนี้ NASA ได้กล่าวว่า หนึ่งในความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดในการทำความเข้าใจและระบุ UAP ให้ดีขึ้น คือ “การขาดข้อมูล” ดังนั้นจึงมีเป้าหมายที่จะอุดช่องว่างดังกล่าวด้วยการรวบรวมข้อมูลจากมวลชน โดย NASA ถือว่าสาธารณชนจะเป็น “ปัจจัยสำคัญสำหรับการทำความเข้าใจ UAP” ในอนาคต

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่มีระบบมาตรฐานสำหรับการรวบรวมและจัดระเบียบรายงาน UAP ของพลเรือน “ส่งผลให้ข้อมูลกระจัดกระจายและไม่สมบูรณ์”

NASA กล่าวเสริมว่า AI และ ML “ได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการระบุเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ยากภายในชุดข้อมูลอันกว้างใหญ่” โดย NASA เชื่อว่าความเชี่ยวชาญของตนควรใช้ร่วมกับวิธีการที่มีอยู่เพื่อตรวจสอบ UAP ควบคู่ไปกับการตรวจสอบข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ เช่น ดาวเทียม และระบบเรดาร์

ก่อนหน้านี้ NASA ได้ใช้เทคโนโลยี AI เพื่อปรับปรุงการสำรวจ ค้นหาวัตถุท้องฟ้าใหม่ ๆ และปรับปรุงชีวิตของนักบินอวกาศในอวกาศอยู่แล้ว โดยหน่วยงานได้พัฒนา Robonaut สำหรับนักบินอวกาศบน ISS โดย Robonaut เป็นหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ที่คล่องแคล่ว ซึ่งออกแบบมาเพื่อขยายขีดความสามารถของ NASA ในด้านการสร้างและการค้นพบสิ่งใหม่ ๆ

อ้างอิง : https://siamblockchain.com/2023/09/20/nasa-aims-to-use-ai-and-ml-for-new-uap-ufo-research/#google_vignette

หุ่นยนต์ AI ทำความสะอาดห้องน้ำอัตโนมัติ ทดแทนขาดแคลนแรงงาน

สตาร์ตอัปจากนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เสนอบริการหุ่นยนต์ทำความสะอาดห้องน้ำ ทำงานอัตโนมัติ 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ พร้อมอุปกรณ์ทำความสะอาดครบครัน
เชื่อว่า “งานบ้าน” ที่ใครหลายคนส่ายหน้าก็คงหนีไม่พ้นการทำความสะอาดห้องน้ำ ถึงแม้ว่าการจ้างพนักงานทำความสะอาดจะเป็นตัวเลือกที่ดีในการผ่อนแรงการทำความสะอาดแล้วก็ตาม แต่ในบางประเทศโดยเฉพาะกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว กำลังประสบกับปัญหาขาดแคลนพนักงานทำความสะอาดที่เป็นมนุษย์ จึงถึงเวลาของหุ่นยนต์อัตโนมัติที่จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหานี้

หุ่นยนต์ระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) ทำความสะอาดห้องน้ำอัตโนมัติ มีลักษณะคล้ายกับหุ่นยนต์ทำความสะอาดทั่วไป แต่ตัวหุ่นยนต์สามารถเคลื่อนที่ได้เองด้วยล้อที่ติดเอาไว้ เดินทางขึ้นลิฟต์เพื่อเปลี่ยนชั้นได้เอง มีระบบเซนเซอร์ที่ช่วยหลบเลี่ยงสิ่งกีดขวาง มีการติดตั้งแขนหุ่นยนต์เพื่อให้สามารถหยิบและเปลี่ยนอุปกรณ์เพื่อทำความสะอาด รวมถึงสามารถหมุนลูกบิดประตูเองได้ อีกทั้งยังมีระบบทำความสะอาดครบครัน ไม่ว่าจะเป็นการผสมน้ำยาทำความสะอาด หรือดูดฝุ่นแล้วจัดเก็บไว้ในถังด้านหลังตัวหุ่นยนต์

หุ่นยนต์ทำความสะอาดห้องน้ำสามารถทำงานได้เองอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็นการยกฝาชักโครกขึ้นมาทำความสะอาด พ่นยาฆ่าเชื้อโรคบริเวณผนังและพื้นห้องน้ำ ดูดฝุ่นบริเวณพื้นที่แห้ง ซึ่งแม้ว่าหุ่นยนต์จะทำงานได้อัตโนมัติ แต่กระบวนการตั้งค่าก่อนการลงมือปฏิบัติจริงของหุ่นยนต์ก็เป็นเรื่องสำคัญ จึงต้องให้ทีมงานเข้าไปทำการเก็บข้อมูลสถานที่จริงของอาคารและห้องน้ำก่อน เพื่อนำมาสร้างแผนที่เชิงลึกโดยใช้แบบจำลอง 3 มิติ อีกทั้งในช่วงแรกยังคงต้องใช้เจ้าหน้าที่ที่เป็นมนุษย์ควบคุมผ่านแว่นวีอาร์ (VR) เพื่อเก็บรายละเอียดต่าง ๆ ก่อนจะปล่อยให้หุ่นยนต์ได้ทำงานเองแบบอัตโนมัติ

อ้างอิง : https://www.thaipbs.or.th/news/content/331744

Whoscall เตือนภัย AI ปลอมเสียง หลังหลอกลวงทั่วโลกพุ่ง 10.2%

โกโกล็อค (Gogolook) ต้นสังกัดแอปพลิเคชันฮูสคอลล์ (Whoscall) เตือนภัยมิจฉาชีพในประเทศไทยเริ่มใช้วิธีหลอกลวงใหม่ด้วยเทคโนโลยี AI ปลอมเสียง พบการฉ้อโกงทั่วโลกเพิ่มขึ้น 10.2% เบ็ดเสร็จสูญเสียทางการเงิน 55,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

น.ส.ฐิตินันท์ สุทธินราพรรณ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัท Gogolook กล่าวเน้นความสำคัญของการป้องกัน การฉ้อโกงและความมุ่งมั่นในการให้ความปลอดภัยแก่ผู้ใช้บริการ Whoscall ในประเทศไทย ว่า Gogolook ได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรองค์กรต่อต้านกลโกงระดับโลก GASA (The Global Anti-Scam Alliance) เพื่อต่อสู้กับภัยการหลอกลวงระหว่างประเทศ เนื่องจากกลโกงใหม่ๆ ทวีความรุนแรงขึ้นจากการใช้เทคโนโลยี Generative AI ในปัจจุบัน

“เมื่อเทคโนโลยีการฉ้อโกงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทาง Gogolook มุ่งมั่นที่จะสร้างชุมชน ป้องกันการฉ้อโกงและสร้างความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้บริการ Whoscall พร้อมกับการร่วมมือกับ GASA เพื่อเสริมสร้างการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างภูมิภาคและการร่วมมือทางเทคโนโลยี และสร้างสรรค์โซลูชันป้องกันการฉ้อโกงระดับโลก เพื่อปกป้องผู้ใช้จากอันตรายที่กำลังเพิ่มขึ้นจากการหลอกลวงด้วยเทคโนโลยีเสียงหรือการหลอกลวง โดยใช้ Generative AI”

สำหรับการหลอกลวงทั่วโลกที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ รายงานการหลอกลวงทั่วโลกปี 2566 ของ GASA พบว่าการฉ้อโกงทั่วโลกเพิ่มขึ้น 10.2% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว (2566) เกิดความสูญเสียทางการเงินสูงถึง 55,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ generative AI (เช่น ChatGPT และ DeepFake เป็นต้น) ถูกพัฒนาอย่างรวดเร็วและถูกนำไปใช้หลอกลวงในหลายพื้นที่ ในอนาคตการหลอกลวงจะพัฒนาต่อไปอย่างรวดเร็ว โดยมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการลดลง เมื่อรวมกับการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลบ่อยครั้ง ภาครัฐและเอกชนจำเป็นต้องลงทุนและร่วมกันวางกลยุทธ์เพื่อป้องกันภัยจากการฉ้อโกงที่เกิดขึ้น

ปัจจุบัน จำนวนเคสการหลอกลวงโดยใช้ AI ปลอมเสียงกำลังเพิ่มขึ้นทั่วโลก เนื่องจากมิจฉาชีพเริ่มใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อเลียนแบบเสียงคนคุ้นเคย เพื่อนหรือครอบครัว เพื่อทำให้เหยื่อเชื่อและหลงกลในที่สุด

อ้างอิง : https://mgronline.com/cyberbiz/detail/9660000084214

TikTok เปิดตัวป้ายกำกับคอนเทนต์สร้างโดย AI หวังคุมการเผยแพร่ข้อมูลเท็จ

ติ๊กต๊อก (TikTok) เปิดเผยเมื่อวันอังคาร (19 ก.ย.) ว่า กำลังเปิดตัวเครื่องมือใหม่เพื่อช่วยให้ผู้สร้างคอนเทนต์สามารถติดป้ายกำกับเนื้อหาที่สร้างขึ้นด้วยปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ (AI) ซึ่งเป็นความพยายามของบริษัทในการควบคุมข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง
ติ๊กต๊อกระบุในข่าวประชาสัมพันธ์ว่า เครื่องมือดังกล่าวจะช่วยให้ผู้ใช้ปฏิบัติตามนโยบาย AI ของติ๊กต๊อกได้อย่างง่ายดายมากขึ้น ซึ่งกำหนดให้เนื้อหาทั้งหมดที่ผ่านการดัดแปลงให้มีความสมจริง ต้องติดป้ายระบุว่า เป็นภาพปลอมที่ถูกสร้างขึ้น หรือเป็นภาพจริงที่ผ่านการตัดต่อดัดแปลงขึ้นมา

ติ๊กต๊อกไม่อนุญาตให้ใช้ดีปเฟค (Deepfake) ซึ่งเป็นวิดีโอหรือภาพปลอมเสมือนจริงที่สร้างขึ้นหรือดัดแปลงโดย AI ซึ่งทำให้ผู้คนสับสนว่าเป็นเนื้อหาจริง ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น

นอกจากนี้แล้ว ติ๊กต๊อกยังไม่อนุญาตให้มีการปลอมแปลงข้อมูลส่วนบุคคลของใครก็ตาม รวมถึงผู้เยาว์ แต่อนุญาตให้เปลี่ยนแปลงรูปภาพหรือวิดีโอของคนดังที่เป็นบุคคลสาธารณะในบางบริบท เช่นเพื่อวัตถุประสงค์ด้านศิลปะและการศึกษา

ติ๊กต๊อกจะเริ่มทดลองใช้การติดป้ายกำกับที่ระบุว่า “สร้างขึ้นโดย AI” (AI-Generated) ภายในสัปดาห์นี้ ซึ่งจะนำไปใช้สำหรับเนื้อหาที่ตรวจพบว่ามีการแก้ไขหรือสร้างขึ้นโดย AI นอกจากนี้ ติ๊กต๊อกจะเปลี่ยนชื่อเอฟเฟกต์บนแอปฯ ที่ใช้ AI โดยจะมีการระบุว่า “AI” ในชื่อเอฟเฟกต์เหล่านั้น และมีป้ายกำกับที่ชัดเจน

สำนักข่าวซีเอ็นบีซีรายงานว่า ความเคลื่อนไหวดังกล่าวของติ๊กต๊อกมีขึ้นท่ามกลางกระแสความกังวลว่า การแข่งขันเพื่อพัฒนา AI ให้ดียิ่งขึ้นนั้นจะส่งผลอย่างไรต่อการเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ตัวอย่างเช่น สหภาพยุโรปได้เรียกร้องให้แพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ ดำเนินการมากขึ้นเพื่อรับมือกับข้อมูลปลอมด้วยการติดป้ายกำกับบนข้อความ, รูปภาพ และเนื้อหาอื่นใดก็ตามที่สร้างขึ้นโดย AI

อ้างอิง : https://www.infoquest.co.th/2023/336245

ทีมวิจัย AI ไมโครซอฟท์ทำข้อมูลภายในขนาด 38 เทราไบต์หลุดรั่วโดยไม่ตั้งใจ

วิซ (Wiz) บริษัทให้บริการด้านความปลอดภัยของระบบคลาวด์เปิดเผยว่า ทีมวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) ของบริษัทไมโครซอฟท์ได้ทำข้อมูลภายในขนาด 38 เทราไบต์ซึ่งรวมถึงข้อมูลที่มีความอ่อนไหว เช่น รหัสส่วนตัวและรหัสผ่าน รั่วไหลสู่สาธารณะโดยไม่ได้ตั้งใจ โดยข้อมูลเหล่านี้ยังรวมถึงข้อความภายในของทีมงานไมโครซอฟท์กว่า 30,000 ข้อความ ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในขณะที่ทีมวิจัยกำลังแชร์ข้อมูลการฝึกฝน AI แบบโอเพน-ซอร์ส (open-source training data) บนเว็บไซต์ของ GitHub

อย่างไรก็ดี ไมโครซอฟท์ยืนยันว่า ไม่พบว่าข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าไมโครซอฟท์รั่วไหลจากกรณีดังกล่าว

Wiz ระบุว่า การรั่วไหลของข้อมูลในครั้งนี้เกิดขึ้นในขณะที่ทีมวิจัยของไมโครซอฟท์ได้ใช้ฟีเจอร์บนแพลตฟอร์ม Azure ที่ชื่อว่าโทเคน “แชร์ แอคเซส ซิกเนเจอร์” (Shared Access Signature – SAS) เพื่อแชร์ไฟล์ของทีมงาน แต่ระดับการเข้าถึง (access level) เกิดความผิดพลาดทางเทคนิค โดยแทนที่ฟีเจอร์ดังกล่าวจะจำกัดการเข้าถึงไฟล์อย่างเจาะจง แต่ลิงก์กลับทำการแชร์บัญชีที่เก็บสำรองไว้ทั้งหมด ซึ่งรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของทีมงานซึ่งมีขนาด 38 เทราไบต์

นอกจากนี้ โทเคน SAS ที่ถูกออกแบบอย่างผิดพลาด ยังปล่อยให้บุคคลภายนอกสามารถเข้าควบคุมข้อมูลเหล่านี้อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งหมายความว่า ไม่เพียงแต่ผู้ไม่ประสงค์ดีจะสามารถเห็นไฟล์ทั้งหมดในบัญชีที่เก็บสำรองข้อมูลเท่านั้น แต่บุคคลเหล่านี้ยังสามารถลบและบันทึกข้อมูลทับลงบนไฟล์ทั้งหมดด้วย

ทั้งนี้ Wiz รายงานว่า ทางบริษัทแจ้งถึงการค้นพบเหล่านี้ให้ไมโครซอฟท์ได้รับทราบเมื่อวันที่ 22 มิ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลให้ไมโครซอฟท์ตัดสินใจเพิกถอนโทเคน SAS ในวันที่ 24 มิ.ย.

ไมโครซอฟท์ได้เสร็จสิ้นการตรวจสอบเรื่องดังกล่าวแล้ว และไม่พบว่าข้อมูลของลูกค้าหรือการบริการด้านอื่น ๆ ของไมโครซอฟท์มีความเสี่ยงอันเนื่องมาจากกรณีดังกล่าว นอกจากนี้ ไมโครซอฟท์กล่าวว่า ลูกค้าไม่จำเป็นต้องใช้แนวทางใด ๆ เพิ่มเติมในการปกป้องความปลอดภัยของข้อมูล

“เราขอยืนยันว่า ไม่มีข้อมูลของลูกค้ารั่วไหล และการบริการภายในด้านอื่น ๆ ของบริษัทก็ไม่ได้เผชิญกับความเสี่ยงอันเนื่องมาจากกรณีดังกล่าว ลูกค้าไม่มีความจำเป็นต้องดำเนินการใด ๆ ต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้” ไมโครซอฟท์ระบุในแถลงการณ์

ไมโครซอฟท์อธิบายว่า ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นจากความผิดพลาดโดยไม่ได้ตั้งใจของทีมวิจัยของไมโครซอฟท์ ซึ่งรวมถึงโทเคน SAS ในการเก็บสำรองข้อมูลบน GitHub ในระหว่างการใช้โมเดลฝึกฝน AI แบบโอเพน-ซอร์ส นอกจากนี้ ไมโครซอฟท์ยังชี้แจงว่า ไม่พบประเด็นที่ไม่ปลอดภัยหรือมีความเปราะบางภายในฟีเจอร์ Azure Storage หรือ โทเคน SAS แต่อย่างใด

นอกจากนี้ ไมโครซอฟท์ระบุว่า เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นอีก ทางบริษัทขอให้ผู้ใช้งานทำการสร้างและจัดการกับโทเคน SAS อย่างเหมาะสม และปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างดีที่สุด พร้อมกับกล่าวว่า ทางบริษัทกำลังเร่งปรับปรุงเครื่องมือการตรวจจับและการสแกน เพื่อแจ้งเตือนในกรณีที่มีการใช้ SAS URLs มากเกินไป และปรับปรุงฟีเจอร์ secure-by-default (ปลอดภัยไว้ก่อน) ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วย

อ้างอิง : https://www.infoquest.co.th/2023/336296

Copilot AI ช่วยเขียนโค้ดจาก Github พร้อมให้ใช้สำหรับบุคคลทั่วไปแล้ววันนี้

GitHub ที่ Microsoft เป็นเจ้าของกำลังเปิดตัวแชทบอทการเขียนโค้ดที่ขับเคลื่อนด้วย AI ให้กับผู้คนทั่วไปหลังจากที่บริษัทเปิดตัวเครื่องมือ Copilot Chat ในรุ่นเบต้าให้กับผู้ใช้งานสำหรับธุรกิจในเดือนกรกฎาคม ทาง GitHub ประกาศว่ามีให้บริการในรุ่นเบต้าสาธารณะสำหรับผู้ใช้ GitHub Copilot ใน Visual Studio และ Visual Studio Code

Copilot Chat ช่วยให้ผู้ใช้พูดคุยกับผู้ช่วย AI เพื่อรับความช่วยเหลือในขณะที่เขียนโค้ดได้ “ตอนนี้ ทีมนักพัฒนาและผู้ใช้ทั่วไปสามารถใช้ GitHub Copilot Chat เพื่อเรียนรู้ภาษาหรือเฟรมเวิร์กใหม่ๆ แก้ไขปัญหาข้อบกพร่อง หรือรับคำตอบสำหรับคำถามเกี่ยวกับการเขียนโค้ดด้วยเอาต์พุตภาษาที่เรียบง่ายและเป็นธรรมชาติ ทั้งหมดนี้โดยไม่ต้องออกจาก IDE”

หากคุณยังไม่ได้เป็นสมาชิกและต้องการตรวจสอบฟีเจอร์นี้ ค่าสมาชิกสำหรับผู้ใช้ทั่วไปจะมีค่าใช้จ่ายที่ $10 ต่อเดือนหรือ $100 ต่อปี

ความช่วยเหลือด้านการเขียนโค้ด (Coding assistance) เป็นแอปพลิเคชันยอดนิยมสำหรับแชทบอท AI ไม่ว่าจะเป็น Google ก็มีการเปิดแชทบอทในลักษณะเดียวกัน สำหรับนักพัฒนา Android ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านในงาน Google I/O และ Amazon ได้มีเสนอเครื่องมือของตัวเองที่เรียกว่า CodeWhisperer เช่นเดียวกัน

อ้างอิง : https://www.theverge.com/2023/9/20/23882605/github-copilot-chat-ai-chatbot-individuals

George R.R. Martin เจ้าของบท Game of Thrones และผู้เขียนคนอื่นๆ ฟ้อง OpenAI ฐานละเมิดลิขสิทธิ์

ชาวเวสเทอรอสจะไม่คุกเข่าให้ใคร! George R.R. Martin ผู้เขียนนิยายชื่อเจ้าของบทซีรีส์ Game of Thrones ฟ้องร้อง OpenAI มากขึ้นในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ โดยร่วมมือกับนักเขียนคนอื่นๆ ในการดำเนินคดีทางกฎหมายกับบริษัท generative AI ที่ใช้หนังสือของตนเพื่อฝึกโมเดล AI Authors Guild และนักเขียนชื่อดัง 17 คน เช่น Jonathan Franzen, John Grisham, George R.R. Martin และ Jodi Picoult ยื่นฟ้องในเขตทางใต้ของนิวยอร์ก โจทก์หวังว่าจะได้รับคำฟ้องที่จัดประเภทเป็นการดำเนินคดีแบบกลุ่ม

ตามคำร้องเรียน OpenAI “คัดลอกผลงานของโจทก์ที่ขายส่งโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือการพิจารณา” และป้อนเนื้อหาที่มีลิขสิทธิ์ลงในแบบจำลองภาษาขนาดใหญ่ “ความเป็นอยู่ของนักเขียนเหล่านี้ได้มาจากผลงานที่พวกเขาสร้างขึ้น แต่ LLM ของจำเลยเป็นอันตรายต่อความสามารถของนักเขียนนวนิยายในการหาเลี้ยงชีพ โดยที่ LLM อนุญาตให้ใครก็ตามสร้างข้อความที่พวกเขายอมจ่ายเงินให้นักเขียนสร้างโดยอัตโนมัติและโดยอิสระ (หรือราคาถูกมาก)”

บริษัท Generative AI ต้องเผชิญกับการต่อสู้ด้านลิขสิทธิ์หลายครั้ง และยังมีการฟ้องร้องแพลตฟอร์มรูปภาพ AI อีกด้วย Microsoft ซึ่งเป็นพันธมิตรกับ OpenAI ประกาศว่าจะช่วยดำเนินการทางกฎหมายหากผู้ใช้บริการ Copilot AI ในเชิงพาณิชย์ถูกฟ้องร้อง

อ้างอิง : https://www.theverge.com/2023/9/20/23882140/george-r-r-martin-lawsuit-openai-copyright-infringement

Digimarc พัฒนาระบบเพิ่มข้อมูลลิขสิทธิ์ให้กับข้อมูลดิจิทัล

บริษัทซอฟต์แวร์ Digimarc จะให้เจ้าของลิขสิทธิ์เพิ่มข้อมูลเพิ่มเติมในงานของพวกเขา ซึ่งทางบริษัทกล่าวว่าจะปรับปรุงวิธีที่โมเดล AI ปฏิบัติต่อลิขสิทธิ์ในข้อมูลการฝึกอบรม

ในแถลงการณ์ Digimarc กล่าวว่าบริการ Digimarc Validate ใหม่ช่วยให้ผู้ใช้ระบุการเป็นเจ้าของในข้อมูลเมต้าได้ บริษัทกล่าวว่านั่นหมายความว่าเมื่อเนื้อหาที่มีลิขสิทธิ์กลายเป็นส่วนหนึ่งของชุดข้อมูลการฝึกอบรม AI ผู้ใช้สามารถรู้ได้จากลายน้ำดิจิทัลพร้อมข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญา

ตัวอย่างเช่น รูปภาพที่มี Digimarc Validate จะเพิ่มสัญลักษณ์ © ที่สามารถอ่านได้ด้วยเครื่อง และมีข้อมูลเกี่ยวกับใครเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ บริษัทกล่าวว่า Digimarc Validate ขับเคลื่อนโดยซอฟต์แวร์ตรวจจับลายน้ำดิจิทัลที่เรียกว่า SAFE หรือปลอดภัย แม่นยำ ยุติธรรม และมีประสิทธิภาพ ซึ่งบริษัท AI ต้องซื้อหากต้องการป้องกันเนื้อหาที่มีลิขสิทธิ์ซึ่งมีสัญลักษณ์ Digimarc Validate ไม่ให้ทำ ชุดข้อมูลการฝึกอบรม

“Generative AI ได้เปลี่ยนกฎเกณฑ์ และเมื่อมีการเผยแพร่หรือเผยแพร่เนื้อหาดิจิทัล ความสามารถในการปกป้องทรัพย์สินอันมีค่าเหล่านั้นก็หมดสิ้นไป” Riley McCormack ประธานและซีอีโอของ Digimarc กล่าว

Digimarc Validate พร้อมใช้งานเชิงพาณิชย์ เริ่มต้นที่ 399 ดอลลาร์ต่อเดือน ลูกค้าองค์กรสามารถทำงานร่วมกับบริษัทเพื่อขอตัวเลือกการกำหนดราคาได้

อ้างอิง : https://www.theverge.com/2023/9/19/23879555/digimarc-copyright-watermark-generative-ai

—————————————————————————————-

ทั้งหมดเป็นข่าวที่น่าสนใจใน  15 – 21 กันยายน 2566 พบกันใหม่ในสัปดาห์หน้านะคะ : )

หากมีข้อสงสัย ติชมสามารถ ติดตามและสอบถามได้ที่
 : AIไทยสามารถ โดย AI for all Thailand



เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึก